กลยุทธ์การจัดการความรู้

การจัดการความรู้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นเพราะสภาพแวดล้อมทั้งหลายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น ความเร็วของการสื่อสารข้อมูลข่าวสารที่ทำให้ความรู้มีอายุของความทันสมัยที่สั้นลง นวัตกรรมทั้งตัวสินค้าและกระบวนการผลิต การจัดการความรู้จะช่วยให้องค์กรสามารถสรรสร้างนวัตกรรมได้เร็วและมีประสิทธิภาพดีกว่าคู่แข่งขัน คำว่า “การจัดการ” ในการจัดการความรู้ หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสภาพแวดล้อมว่าองค์กรมีความสามารถในการดำรงและตอบโต้ได้อย่างไร ความรู้เป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งขององค์กร องค์กรที่เห็นความสำคัญของความรู้จะสร้างความรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ ยากต่อการเลียนแบบและสามารถนำมาใช้ให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน การสร้าง เก็บรักษา และยกระดับความรู้จะช่วยให้องค์กรมีความสำเร็จมากขึ้น เราอาจให้นิยามการจัดการความรู้ว่า เป็นกิจกรรมทุกชนิดในการนำความรู้ไปใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร สามารถเผชิญกับความท้าทายของสภาพแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ และดำรงความได้เปรียบในการแข่งขัน

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทั้ง 3 ตัวอย่างเป็นตัวอย่างของเรื่อง กลยุทธ์การจัดการความรู้ทั้งสิ้น ซึ่งมีเรื่องเกี่ยววันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ความหมายของบายศรีแต่ละชั้นที่ขึ้น ด้วยความประณีต ใช้ความอดทนในการทำ เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของคนไทยเรา และเรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องเกี่ยวกับการรับประทานผัก ซึ่งจะได้ทราบว่าผักชนิดใดบ้างที่มีน้ำตาลมาก และไม่เหมาะสำหรับคนเป็นโรคเบาหวานค่ะ..........ชิมิ ชิมิ ^^

ผักอะไรบ้างที่มีน้ำตาลมาก?????????????


ผักแต่ละชนิดมีน้ำตาลเท่ากันหรือไม่ ถ้าไม่เท่ากัน ผักอะไรบ้างมีน้ำตาลน้อย และผักอะไรบ้างมีน้ำตาลมาก


ผักที่มีน้ำตาล 3-5 เปอร์เซ็นต์
มะเขือ น้ำเต้า ใบตังโอ๋ ผักกาดขาว ผักกระเฉด แตงกวา บวบ ผักโขม ผักบุ้ง หน่อไม้ หัวผักกาดขาว ฟักเขียว ผักกาดหอม ผักบุ้งจีน ยอดฟักทอง เห็ดบัว แตงร้าน ผักตำลึง ผักกาดขาวปลี ขึ้นฉ่าย มะระ ถั่วงอก ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า กุยช่าย สายบัว ชะอม ดอกหอม กะหล่ำปลี

ผักที่มีน้ำตาล 5-10 เปอร์เซ็นต์
ฝักถั่วลันเตา ใบชะพลู ต้นหอม ดอกกะหล่ำ ถั่วแขก ผักโขม หอมใหญ่ ใบทองหลาง ดอกโสน ถั่วพู มะรุม ดอกแค ขิง หน่อไม้ ข้าวโพดอ่อน หัวปลี กระเจี๊ยบ มะละกอดิบ ใบกระถิน ยอดและฝักอ่อนกระถิน

ผักที่มีน้ำตาล 15-20 เปอร์เซ็นต์
ดอกขี้เหล็ก เมล็ดถั่วลันเตา ใบมะขามอ่อน ใบย่านาง ผักหวาน ลูกเนียง มันฝรั่ง

ผักที่มีน้ำตาล 20-30 เปอร์เซ็นต์
กระจับ กลอย เผือก มันเทศ ใบขี้เหล็ก แห้วจีน

อ่านกันมาถึงตรงนี้แล้ว ก็ขอฟันธงกันชัดๆเลยค่ะว่า ผักในกลุ่มที่มีน้ำตาล 20-30เปอร์เซ็นต์ไม่เหมาะกับคนเป็นโรคเบาหวาน ลองเช็คดูนะคะควรลดผักอะไรที่เป็นของชอบบ้าง

บายศรี

คุณจะเคยเห็นบายศรี สังเกตหรือไม่ว่า ทำไมบายครีจึงมีหลายชั้น แล้วแต่ชั้นมันมีความหมายว่าอย่างไร ?????????????????????????

๓ ชั้น เพื่อระลึกถึง พระรัตนตรัยมีองค์ ๓ ในศาสนาพุธ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ หรือเทพเจ้า ๓ พระองค์ ในศาสนาฮินดู ได้แก่ พระศิวะ พระนารายณ์ และพระพรหม

๕ ชั้น เพื่อระลึกถึง ขันธ์ทั้ง ๕ หรือ ที่ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าเบญจขันธ์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ๗ ชั้น เพื่อระลึกถึง โพชฌงค์ ๗ ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา

๙ ชั้น เชื่อเป็นมงคลสูงสุดในการดำเนินชีวิตจะได้ก้าวหน้ารุ่งเรือง ไม่ว่าจะทำการใด ๆ มักนิยมเลข ๙ มากกว่า เลขอื่น เพื่อระลึกถึงพุทธคุณ ๙ หรือคุณของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ หรือ นวารหาทิคุณ ได้แก่ ๑. อรหัง (เป็นผู้ บริสุทธ ิ์ไกล จากกิเลส เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับ ความเคารพบูชา) ๒. สัมมาสัมพุทโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง) ๓. วิชชา จรณสัมปันโน (เป็นผู้พร้อมด้วยวิชชาคือความรู้ และจรณะคือความประพฤติ) ๔. สุคโต (เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว) ๕. โลกวิทู (เป็นผู้รู้แจ้งโลก) ๖. อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ (เป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยมไม่มีผู้ใดเทียมเท่า) ๗. สัตถา เทวมนุสสานัง (เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย) ๘. พุธโธ (เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือ และข้อปฏิบัติที่ถือกั นมาผิด ๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วยฯ) ๙. ภคว (ทรงเป็นผู้มีโชค คือ จะทรงทำการใด ก็ลุล่วง ปลอดภัยทุกประการ) (พจนานุกรมพุทธศาสตร์:๒๖๒-๒๖๓)

วันเข้าพรรษา


"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด


ซึ่งในวันเข้าพรรษาจะมีการทำบุญตักบาตรกันในหลายวัด และกิจกรรมมากมาย เช่น กิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา กิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร ทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่างๆ เป็นต้น


วันเข้าพรรษา

เนื่องจากใกล้วันเข้าพรรษาเข้ามาทุกวัน เราเลยเอาประวัติความเป็นมาของวันเข้าพรรษาเอาให้อ่านพอเข้าใจ เพื่อให้คนในปัจจุบันทราบถึงความเป็นมาของวันเข้าพรรษาของไทยเรา