กลยุทธ์การจัดการความรู้

การจัดการความรู้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นเพราะสภาพแวดล้อมทั้งหลายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น ความเร็วของการสื่อสารข้อมูลข่าวสารที่ทำให้ความรู้มีอายุของความทันสมัยที่สั้นลง นวัตกรรมทั้งตัวสินค้าและกระบวนการผลิต การจัดการความรู้จะช่วยให้องค์กรสามารถสรรสร้างนวัตกรรมได้เร็วและมีประสิทธิภาพดีกว่าคู่แข่งขัน คำว่า “การจัดการ” ในการจัดการความรู้ หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสภาพแวดล้อมว่าองค์กรมีความสามารถในการดำรงและตอบโต้ได้อย่างไร ความรู้เป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งขององค์กร องค์กรที่เห็นความสำคัญของความรู้จะสร้างความรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ ยากต่อการเลียนแบบและสามารถนำมาใช้ให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน การสร้าง เก็บรักษา และยกระดับความรู้จะช่วยให้องค์กรมีความสำเร็จมากขึ้น เราอาจให้นิยามการจัดการความรู้ว่า เป็นกิจกรรมทุกชนิดในการนำความรู้ไปใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร สามารถเผชิญกับความท้าทายของสภาพแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ และดำรงความได้เปรียบในการแข่งขัน

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บายศรี

คุณจะเคยเห็นบายศรี สังเกตหรือไม่ว่า ทำไมบายครีจึงมีหลายชั้น แล้วแต่ชั้นมันมีความหมายว่าอย่างไร ?????????????????????????

๓ ชั้น เพื่อระลึกถึง พระรัตนตรัยมีองค์ ๓ ในศาสนาพุธ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ หรือเทพเจ้า ๓ พระองค์ ในศาสนาฮินดู ได้แก่ พระศิวะ พระนารายณ์ และพระพรหม

๕ ชั้น เพื่อระลึกถึง ขันธ์ทั้ง ๕ หรือ ที่ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าเบญจขันธ์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ๗ ชั้น เพื่อระลึกถึง โพชฌงค์ ๗ ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา

๙ ชั้น เชื่อเป็นมงคลสูงสุดในการดำเนินชีวิตจะได้ก้าวหน้ารุ่งเรือง ไม่ว่าจะทำการใด ๆ มักนิยมเลข ๙ มากกว่า เลขอื่น เพื่อระลึกถึงพุทธคุณ ๙ หรือคุณของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ หรือ นวารหาทิคุณ ได้แก่ ๑. อรหัง (เป็นผู้ บริสุทธ ิ์ไกล จากกิเลส เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับ ความเคารพบูชา) ๒. สัมมาสัมพุทโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง) ๓. วิชชา จรณสัมปันโน (เป็นผู้พร้อมด้วยวิชชาคือความรู้ และจรณะคือความประพฤติ) ๔. สุคโต (เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว) ๕. โลกวิทู (เป็นผู้รู้แจ้งโลก) ๖. อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ (เป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยมไม่มีผู้ใดเทียมเท่า) ๗. สัตถา เทวมนุสสานัง (เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย) ๘. พุธโธ (เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือ และข้อปฏิบัติที่ถือกั นมาผิด ๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วยฯ) ๙. ภคว (ทรงเป็นผู้มีโชค คือ จะทรงทำการใด ก็ลุล่วง ปลอดภัยทุกประการ) (พจนานุกรมพุทธศาสตร์:๒๖๒-๒๖๓)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น